วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสารดาวเทียม


เทคโนโลยีดาวเทียมกับการสื่อสารยุคใหม่ประเทศไทยเริ่มใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีการติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศไทยกับเมือง โฮโนลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีถัดมา พ.ศ. 2511 ก็มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมถ่ายทอดสดรายการโทรทัศน์จากสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย การสื่อสารผ่านดาวเทียม มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงคมนาคมจึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมทุนรับสัมปทานดำเนินการโครงการดาวเทียมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานดาวเทียมสื่อสาร มีระยะเวลาตามสัญญา 30 ปี วันที่ 18 ธันวาคม 2536 บริษัท เอเรียลสเปช ของฝรั่งเศส ซึ่งรับจ้างในการ จัดส่งดาวเทียมก็นำดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย คือ ไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียม ไทยคม 2 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย ดาวเทียมไทยคม 3 ส่งขึ้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทย ในยุคข่าวสาร ข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และการติดต่อส่งข้อมูลเพื่อความมั่นคงของชาติภายใต้การดูแลรับผิดชอบทุกขั้นตอนโดยคน


เทคโนโลยีดาวเทียมกับการจัดการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลนั้น เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเลือกเรียนและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของตนเอง ระบบการจัดการศึกษาทางไกลจึงต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนและมีคุณภาพเป็นที่แน่ใจว่าผู้เรียนจะเกิดผลสัมฤทธ์ทางการเรียนตามมาตรฐานทางวิชาการ เช่นเดียวกับการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ
อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ที่เริ่มมีการให้ปริญญาภายนอกของมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการสอนทางไปรษณีย์และได้พัฒนาใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้สื่อประสม หลังจากนั้นการศึกษาทางไกลก็ได้ขยายแนวความคิดกระจายออกไปยังภูมิภาค
จากการที่ประเทศไทย มีดาวเทียมแห่งชาติ คือ ไทยคม 1 ซึ่งมีช่องสัญญาณในระบบ KU-Band และมีระบบรับส่งสัญญาณด้วย Digital Technology ซึ่งมีประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณได้คมชัดกว่าระบบอื่น บริษัทชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด โดยผ่านมูลนิธิไทยคม เห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำหรับจัดการศึกษาทางไกล จึงได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างมูลนิธิไทยคม และกระทรวงศึกษาธิการ ตามข้อตกลงมูลนิธิไทยคม จะให้ความช่วยเหลือแก่กระทรวงศึกษาธิการ ในการใช้ดาวเทียมเพื่อการศึกษาทางไกล จำนวน 1 ช่องสัญญาณ พร้อมทั้งสนับสนุนชุดอุปกรณ์รับ

การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2518 โดยแบ่งลักษณะของการพัฒนาการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาทางไกลระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา อาจกล่าวได้ว่า กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้รับผิดชอบการศึกษาทางไกล ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งแต่เดิมกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดการศึกษาทางไกล โดยมีสื่อพิมพ์เป็นสื่อหลัก และเสริมด้วยรายการวิทยุกระจายเสียง ให้แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนได้ฟังและใช้บทเรียนทางวิทยุบ้าง ไม่ได้ใช้บ้าง บางคนอ้างว่า ไม่มีเวลาที่จะติดตามฟัง บทเรียนทางวิทยุมีเฉพาะเสียงอย่างเดียว ไม่ค่อยน่าสนใจฟัง ในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์มีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ สื่อที่มีทั้งภาพและเสียงมีข้อได้เปรียบในการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้ชัดเจน สื่อโทรทัศน์ส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจโฆษณา และความบันเทิง การเช่าเวลาจากสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และที่สำคัญทางสถานีไม่อาจจะจัดสรรเวลาให้ตามที่หน่วยงานทางการศึกษาต้องการได้
การศึกษาผ่านดาวเทียมครั้งแรก คือ เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 12สิงหาคม 2537 โดยออกอากาศในระบบส่งตรงถึงผู้ชม (Direct to home : DTH) การออกอากาศในระบบนี้เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขึ้นสู่ดาวเทียม จากนั้นสัญญาณจะถูกส่งจากดาวเทียมมายังอุปกรณ์รับสัญญาณซึ่งติดตั้งอยู่ที่จุดติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ ชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย

1. จานรับสัญญาณดาวเทียม (Dish Antenna) พร้อมตัวรวมสัญญาณ (Low Noise Block and Feedhorn : LNBF)
2. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (Integrated Receiver and Decoder : IRD)
3. เครื่องรับโทรทัศน์ (T.V. Monitor)

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1.       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2.       เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3.       การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.       การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5.       การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6.       การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.       การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต

8.       การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 3G


  3G หรือ Third Generation  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต

      3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
      ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
      เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
      มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

     ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

เทคโนโลยีเกียวกับโทรศัพท์มือถือ


โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่านโทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐานโดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจาก จากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้น ปฎิทิน เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต 1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่โลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป้น 4,600 ล้านคนบูลทูน กล้องถ่ายภาพ เครื่องเล่นเพลง

โทรศัพท์ที่เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ นักประดิษฐ์จากบรษัท โมโตโรลา เป็นโทรศัพทืเคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.