วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสารดาวเทียม


เทคโนโลยีดาวเทียมกับการสื่อสารยุคใหม่ประเทศไทยเริ่มใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีการติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศไทยกับเมือง โฮโนลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีถัดมา พ.ศ. 2511 ก็มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมถ่ายทอดสดรายการโทรทัศน์จากสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย การสื่อสารผ่านดาวเทียม มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงคมนาคมจึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมทุนรับสัมปทานดำเนินการโครงการดาวเทียมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานดาวเทียมสื่อสาร มีระยะเวลาตามสัญญา 30 ปี วันที่ 18 ธันวาคม 2536 บริษัท เอเรียลสเปช ของฝรั่งเศส ซึ่งรับจ้างในการ จัดส่งดาวเทียมก็นำดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย คือ ไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียม ไทยคม 2 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย ดาวเทียมไทยคม 3 ส่งขึ้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทย ในยุคข่าวสาร ข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และการติดต่อส่งข้อมูลเพื่อความมั่นคงของชาติภายใต้การดูแลรับผิดชอบทุกขั้นตอนโดยคน


เทคโนโลยีดาวเทียมกับการจัดการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลนั้น เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเลือกเรียนและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของตนเอง ระบบการจัดการศึกษาทางไกลจึงต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนและมีคุณภาพเป็นที่แน่ใจว่าผู้เรียนจะเกิดผลสัมฤทธ์ทางการเรียนตามมาตรฐานทางวิชาการ เช่นเดียวกับการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ
อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ที่เริ่มมีการให้ปริญญาภายนอกของมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการสอนทางไปรษณีย์และได้พัฒนาใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้สื่อประสม หลังจากนั้นการศึกษาทางไกลก็ได้ขยายแนวความคิดกระจายออกไปยังภูมิภาค
จากการที่ประเทศไทย มีดาวเทียมแห่งชาติ คือ ไทยคม 1 ซึ่งมีช่องสัญญาณในระบบ KU-Band และมีระบบรับส่งสัญญาณด้วย Digital Technology ซึ่งมีประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณได้คมชัดกว่าระบบอื่น บริษัทชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด โดยผ่านมูลนิธิไทยคม เห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำหรับจัดการศึกษาทางไกล จึงได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างมูลนิธิไทยคม และกระทรวงศึกษาธิการ ตามข้อตกลงมูลนิธิไทยคม จะให้ความช่วยเหลือแก่กระทรวงศึกษาธิการ ในการใช้ดาวเทียมเพื่อการศึกษาทางไกล จำนวน 1 ช่องสัญญาณ พร้อมทั้งสนับสนุนชุดอุปกรณ์รับ

การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2518 โดยแบ่งลักษณะของการพัฒนาการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาทางไกลระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา อาจกล่าวได้ว่า กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้รับผิดชอบการศึกษาทางไกล ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งแต่เดิมกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดการศึกษาทางไกล โดยมีสื่อพิมพ์เป็นสื่อหลัก และเสริมด้วยรายการวิทยุกระจายเสียง ให้แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนได้ฟังและใช้บทเรียนทางวิทยุบ้าง ไม่ได้ใช้บ้าง บางคนอ้างว่า ไม่มีเวลาที่จะติดตามฟัง บทเรียนทางวิทยุมีเฉพาะเสียงอย่างเดียว ไม่ค่อยน่าสนใจฟัง ในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์มีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ สื่อที่มีทั้งภาพและเสียงมีข้อได้เปรียบในการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้ชัดเจน สื่อโทรทัศน์ส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจโฆษณา และความบันเทิง การเช่าเวลาจากสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และที่สำคัญทางสถานีไม่อาจจะจัดสรรเวลาให้ตามที่หน่วยงานทางการศึกษาต้องการได้
การศึกษาผ่านดาวเทียมครั้งแรก คือ เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 12สิงหาคม 2537 โดยออกอากาศในระบบส่งตรงถึงผู้ชม (Direct to home : DTH) การออกอากาศในระบบนี้เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขึ้นสู่ดาวเทียม จากนั้นสัญญาณจะถูกส่งจากดาวเทียมมายังอุปกรณ์รับสัญญาณซึ่งติดตั้งอยู่ที่จุดติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ ชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย

1. จานรับสัญญาณดาวเทียม (Dish Antenna) พร้อมตัวรวมสัญญาณ (Low Noise Block and Feedhorn : LNBF)
2. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (Integrated Receiver and Decoder : IRD)
3. เครื่องรับโทรทัศน์ (T.V. Monitor)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น